ข้าวทับทิมชุมแพ

   : แหล่งที่มาและประวัติ :

ข้าวพันธุ์ทับทิมชุมแพ (ข้าวเจ้าสายพันธุ์ SRN06008-18-1-5-7-CPA-20) 

เกิดจากการผสมพันธุ์ ระหว่างข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 กลายพันธุ์จากรังสี ทรงต้นเตี้ย

(Semi-dwarf KDML105) ที่มีลักษณะต้านทานต่อโรคไหม้ไม่ไวต่อช่วงแสงเป็นพันธุ์แม่

กับข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยด ซึ่งเป็นข้าวเจ้าที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงไวต่อช่วงแสงอายุหนัก ต้นสูง เป็นพันธุ์พ่อ

ที่ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ในฤดูนาปรัง 2549 และคัดเลือกข้าวพันธุ์ผสมแบบสืบตระกูล ชั่วที่ 1-6 ในฤดูนาปี 2549-2554 

ที่ ศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ และชั่วที่ 7 ในฤดูนาปี 2555 ที่ 

ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ ปลูกเปรียบเทียบผลผลิตในสถานีในฤดูนาปี 2556 หลังจากนั้นนาผลผลิตมาวิเคราะห์

คุณภาพเมล็ดทางเคมีและทางกายภาพ ที่ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระฟีโนลิกและ

ลาโวนอยด์ และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปลูกประเมิน

ลักษณะประจำพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยข้าวชุมแพ และทดสอบปฏิกิริยาต่อโรคและแมลงศัตรูข้าวที่ส าคัญ วิเคราะห์

ปริมาณวิตามินอี แกมมา-ออไรซานอล และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ที่คณะวิทยาศาสตร์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในฤดูนาปี 2557

 

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ชนิดพืช/ประเภท ข้าวนาสวนไม่ไวต่อช่วงแสง ชื่อวิทยาศาสตร์ Oryza sativa L.

 

ลักษณะทางสัณฐานวิทยาและลักษณะทางการเกษตร

มีอายุถึงวันออกดอก 50% คือ 106 วันหลังงอก หรืออายุเก็บเกี่ยว 136 วันหลังงอก

 

ลักษณะของลำต้น

ทรงกอในระยะออกดอก 50% มีลักษณะตั้งตรง มีความสูงของต้นวัดถึงปลายรวง113 เซนติเมตร

สีปล้องในระยะออกดอก 50% มีสีเขียว ความแข็งของต้นในระยะหลังออกดอก 20 วันพบว่าแข็งมาก (ทุกต้นตั้งตรง)

 

 

ลักษณะของใบ

ในระยะแตกกอเต็มที่สีใบมีสีเขียว กาบใบมีสีเขียว มุมปลายใบมีลักษณะตั้งตรง การมี

ขนของแผ่นใบเป็นพวกใบมีขน ในระยะออกดอกแล้ว 20 วัน ใบมีความยาว 46.14 เซนติเมตร กว้าง 1.40

เซนติเมตร การแก่ของใบที่ระยะเก็บเกี่ยวจัดเป็นพวกใบแก่ช้า

 

ลักษณะของลิ้นใบ

ในระยะแตกกอลิ้นใบมีสีขาว รูปร่างมีสองยอด ความยาวของลิ้นใบ 29.80 มิลลิเมตร

 

ลักษณะของหูใบ

หูใบมีสีเหลืองอ่อน

 

ลักษณะของข้อต่อใบ

ข้อต่อใบมีสีเขียวอ่อน

 

ลักษณะของใบธง

มุมใบธงตั้งตรง ใบธงมีความยาว 43.60 เซนติเมตร ความกว้าง 2.14 เซนติเมตร

 

รวง

ความยาวของรวงในระยะเก็บเกี่ยว 28.74 เซ็นติเมตร ในระยะออกดอก 20 วัน ลักษณะของรวง

มีความแน่นปานกลาง การแตกระแง้ปานกลาง การยืดของคอรวงคอรวงสั้น จำนวนเมล็ดดีต่อรวง 167 เมล็ด

ในระยะเก็บเกี่ยว มีการติดเมล็ดมาก (93.71 เปอร์เซ็นต์) การร่วงของเมล็ดเป็นพวกร่วงน้อย การนวดปาน

กลาง มีจ านวนรวงต่อกอ 13.4 รวง

 

ลักษณะของดอก

ในระยะออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ยอดเกสรตัวเมียมีสีเหลือง สีของปลายยอดดอกมี สีขาว

 

 

ลักษณะของเมล็ด

ในระยะหลังเก็บเกี่ยว การมีหางข้าว จัดเป็นเมล็ดไม่มีหาง สีของยอดเมล็ดมีสีขาว ขนบนเปลือกเมล็ดมีลักษณะ

ขนสั้น ความยาวของกลีบรองดอกสั้น (<2 มิลลิเมตร) สีของกลีบรองดอกมีสีฟาง ระยะพักตัวของเมล็ด 6 สัปดาห์

 

คุณภาพของเมล็ด

คุณภาพทางกายภาพ สีของเปลือกเมล็ดมีสีฟาง ของข้าวกล้องมีสีแดง ชนิดของข้าวจัดเป็น ข้าวเจ้า 

การเป็นท้องไข่มาก-เต็มเมล็ด (5) หรือข้าวสารทุกเมล็ดมีลักษณะขุ่นคล้ายข้าวเหนียว

ขนาดของ ข้าวเปลือกยาว 10.1 มิลลิเมตร กว้าง 2.56 มิลลิเมตร หนา 2.03 มิลลิเมตร

ขนาดของข้าวกล้อง ยาว 7.73

มิลลิเมตร กว้าง 2.02 มิลลิเมตร หนา 1.79 มิลลิเมตร

ข้าวกล้องมีรูปร่างเรียวยาว น้ าหนักข้าวเปลือก 1,000 เมล็ด 25.90 กรัม

 

คุณภาพการสี

ข้าวเต็มเมล็ดและต้นข้าว 58.27 เปอร์เซ็นต์แกลบ 25.77 เปอร์เซ็นต์รำ 8.39 เปอร์เซ็นต์

 

 

คุณภาพเมล็ดทางเคมี

และคุณภาพการหุงต้มรับประทาน ค่าอะมิโลส 12.63 เปอร์เซ็นต์ค่า

การสลายเมล็ดในด่าง (KOH 1.7 เปอร์เซ็นต์) มีค่า 5.00 อุณหภูมิแป้งสุกต่ า ความหอมจัดเป็นข้าวไม่หอม

ความนุ่มจัดเป็นข้าวนุ่มมาก ความเหนียว (การเกาะตัวของข้าวสุก) จัดว่า เหนียว

 

ลักษณะประจำพันธุ์ดีเด่น

เป็นข้าวเจ้าไม่ไวต่อช่วงแสง ลักษณะทรงต้นแบบใหม่ (New plant type) กอตั้งตรง ล าต้นค่อนข้าง

แข็ง ใบสีเขียว ใบแก่ช้า ข้าวกล้องสีแดง เมล็ดยาว คุณภาพการสีดี อะมิโลสต่ า ความคงตัวของแป้งสุก 68.0 มี

อุณหภูมิแป้งสุกต่ า มีปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระฟีโนลิกและฟลาโวนอยด์สูง (ปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระฟี

นอลิกทั้งหมด 7804 mgGAE/100g of sample และฟลาโวนอยด์ทั้งหมด 5233) ไวตามินอี โดยเฉพาะ α-

Tocopherol สูง (13.48 ug/g) และ Y-Oryzanols สูง ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมาก (ค่า IC50 2.68 mg/mL)

และความสามารถในการรีดิวซ์เหล็กสูง (3.89 mM/g of sample) mgCE/100g of sample) คุณภาพการหุง

ต้มและรับประทานดี โดยข้าวสารหุงสุกนุ่มมาก ข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือหุงสุกนุ่ม ข้าวกล้องหุงสุกมีสีแดงใส

คล้ายสีของทับทิม (Ruby) ท าการขยายเมล็ดพันธุ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2557

 

พื้นที่แนะนำ

แนะนำให้ปลูกในพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทานในพื้นที่ที่ต้องการข้าวคุณภาพพิเศษ


Visitors: 89,282